สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร ณ กรุงบรัสเซลส์
Office of Customs Affairs, Royal Thai Embassy Brussels
 

ข่าวสาร

Customs Policy Monitoring Unit (CPMU)

แหล่งข้อมูลของสำนักงาน

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 28 เข้าชมวันนี้
  • 474 เข้าชมเดือนนี้
  • 87,118 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร ณ กรุงบรัสเซลส์
เบอร์โทรศัพท์ : +32-2-660-5759, 5835 โทรสาร : +322-675-2649

อัครราชทูต (ฝ่ายศุลกากร) เข้าร่วมประชุมทีมประเทศไทย ณ สถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงเวียนนา




เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2559 นายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย ได้เชิญนายรังสฤษฎ์ พัฒนทอง อัครราชทูต (ฝ่ายศุลกากร) ณ กรุงบรัสเซลส์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารทีมประเทศไทย (เต็มคณะ) ณ สถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงเวียนนา

ในการนี้ สถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงเวียนนาได้นำเสนอกิจกรรมที่ช่วงที่ผ่านมา เช่น การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล กิจกรรมด้านทวิภาคีและพหุภาคี และสรุปภาพรวมเศรษฐกิจของยูโรโซนและสหภาพยุโรป จากนั้นได้พิจารณาหารือกับทีมประเทศไทยเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมบูรณาการในปี 2559 และ 2560 รวมทั้งเรื่องที่สำนักงานต่างๆ หยิบยกขึ้นหารือ โดยสำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร ณ กรุงบรัสเซลส์ได้หยิบยกบทบาทหลักของผู้แทนไทยในองค์การศุลกากรโลก (WCO) มานำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะกรรมการบริหารทีมประเทศไทย และในช่วงค่ำของวันเดียวกัน มีการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยโดยคณะนาฏศิลป์และหุ่นละครเล็กโจหลุยส์ ภายใต้โครงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศแบบบูรณาการ

ทั้งนี้ ตัวเลข GDP ไตรมาส 1/59 ของกลุ่มยูโรโซนและกลุ่มสหภาพยุโรปทั้งหมดขยายตัวเพิ่มขึ้นเท่ากันที่ร้อยละ 0.5 เป็นการขยายตัวที่ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา นอกจากนี้ สมาชิกที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน เช่น เยอรมนี (ร้อยละ 0.7 จาก 0.3) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 0.5 จาก 0.3) ส่วนสเปนคงที่ที่ร้อยละ 0.8 ติดต่อกันมา 3 ไตรมาสแล้ว

นอกจากนี้ กระแสการลาออกจากสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) กำลังเข้มข้นขึ้นเนื่องจากใกล้วันลงประชามติการออกจากสมาชิกภาพในวันที่ 23 มิถุนายน ศกนี้ ฝ่ายที่สนับสนุนให้อยู่ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมันนี ฝรั่งเศส IMF และสถาบันการเงินชั้นนำของโลก ได้ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบเชิงลบด้านเศรษฐกิจที่จะมีผลต่อสหภาพยุโรป โดยหากสหราชอาณาจักรซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ลาออก จะทำให้สัดส่วน GDP ของสหภาพยุโรปต่อเศรษฐกิจโลกลดลงทันที มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ต้นทุนการระดมเงินทุนของรัฐบาล และเสถียรภาพด้านการเงินของโลก ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนให้ลาออกเห็นว่า โครงสร้างการทำงานของสหภาพยุโรปในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อน และนโยบายแฝงด้วยอิทธิพลของประเทศสมาชิกรายใหญ่ ทำให้สหภาพยุโรปไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ ได้ ทั้งนี้ การออกจากสมาชิกภาพของสหราชอาณาจักรในครั้งนี้ หากเกิดขึ้น ย่อมจะหมายถึงการสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจำนวนมหาศาลจากการเป็นตลาดเดียว (Single Market) ดังนั้น การลงประชามติในวันที่ 23 มิถุนายนที่จะถึงนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อสหภาพยุโรปและเศรษฐกิจโลก




 

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 มิถุนายน 2559 16:29:09
จำนวนผู้เข้าชม : 723
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร ณ กรุงบรัสเซลส์
Dreve du Rembucher 89 1170 Brussels, Belgium
หมายเลขโทรศัพท์ : +32-2-660-5759, 5835
อีเมล์ : thaicustoms@skynet.be

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ ของสำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร ณ กรุงบรัสเซลส์
ลิขสิทธิ์ ? 2015 สำนักงานที่ปรึกษาการศุลกากร ณ กรุงบรัสเซลส์ สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนประมวลผลและคลังข้อมูล สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลการ